เยี่ยมชม หอสมุดเปิดใหม่ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร Bangkok City Library

สวัสดีครับ วันนี้ทีมงาน TheLivingInsight.com พาเยี่ยมชมหอสมุดเปิดใหม่ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library) ดีต่อใจสายฟรีแลนซ์แน่นอน เพราะห้องสมุดที่นี้ เข้าฟรี, มี Wifi ให้บริการ, พร้อมโต๊ะนั่ง, โซนคอมพิวเตอร์สำหรับค้นคว้า และมุมเด็กเล่น สำหรับที่ตั้งของหอสมุดนั้นไม่ใกล้ไม่ไกล ตั้งอยู่บนถนนราชดำเนิน บริเวณสี่แยกคอกวัว ครับ

รีวิว หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library)

ทำเลที่ตั้ง หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

แผนที่ Google map : https://goo.gl/maps/TQTYSeQd15L2
พิกัด : 13.757551, 100.498885

ป้ายด้านหน้า หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

การเดินทาง

1.การเดินทางโดยรถยนต์และทางด่วนพิเศษ

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ถนนราชดำเนินกลาง สามารถใช้เส้นทางด่วนไปลง “ด่านยมราช” หรือขึ้นเส้นทางด่วนสุริวงศ์ไปลง “ด่านอุรุพงศ์” ข้ามสะพานผ่านฟ้าลีลาศมายังถนนราชดำเนินกลาง อาคารหอสมุดเมืองกรุงเทพจะตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคอกวัว

2.เดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ

จุดเชื่อมต่อการเดินทางรถไฟฟ้า – เรือ
– สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน MRT อโศก สามารถเชื่อมต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบท่าอโศก
– สถานีรถไฟฟ้า BTS ราชเทวี สามารถเชื่อมต่อเรือโดยสารคลองแสนแสบท่าสะพานหัวช้าง

รถโดยสารประจำทาง
สาย 2, 9, 15, 32, 35, 42, 44, 47, 59, 60, 68, 70, 79, 82, 124, 127, 171, 183, 203

รถโดยสารปรับอากาศ
สาย ปอ.60, ปอ.127, ปอ.157, ปอ.503, ปอ.509, ปอ.511, ปอ.516, ปอ.556

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

มาถึงแล้วครับ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นอาคารสูง 3 ชั้น ตั้งอยู่บริเวณ สี่แยกคอกวัว ครับ สังเกตเห็นได้ง่าย

ลงทะเบียน หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

เข้ามาภายในชั้น 1 ด้านหน้าจะเป็น ประชาสัมพันธ์ (information) สำหรับสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และสมัครสมาชิกได้ที่นี่

วิธีลงทะเบียน ลงทะเบียน หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

รายละเอียดการสมัครสมาชิก

ทางด้านขวามือจะเป็นโซนล็อคเกอร์ สามารถฝากกระเป๋าและสัมภาระได้ที่นี่ ในวันที่มีผู้ใช้บริการค่อนข้างมาก เจ้าหน้าที่จะเพิ่มรถเข็นสำหรับฝากสัมภาระ สำหรับทรัพย์สินที่มีมูลค่า แอดมินว่าให้นำติดตัวไปจะดีกว่าครับ

ล็อคเกอร์ด้านในก็จะเรียงตามเบอร์ สำหรับล็อคเกอร์ไหนที่ว่าง จะมีกุญแจเสียบไว้ด้านนอก โดยเราสามารถนำสัมภาระไปเก็บไว้ได้เลยครับ ขนาดล็อคเกอร์กว้างและสูง ประมาณ 1 ข้อแขน สามารถใส่กระเป๋าใบใหญ่โน๊ตบุ๊คใบใหญ่ ได้ 2 ใบ

ก่อนจะปิดล็อคกุญแจ ให้นำเหรียญ 10 บาท หยอดลงไปด้านบน แล้วบิดกุญแจด้านนอกเพื่อล็อคครับ

หมุนกุญแจไป ทางขวามือ เพื่อล็อค แบบนี้ เสร็จแล้วก็ดึงกุญแจออก และพกติดตัวเข้าไปได้เลยครับ

เวลานำสัมภาระออกมา ก็แค่ไขกุญแจเพื่อเปิดตู้ล็อคเกอร์ (อย่าลืมนำเหรียญ 10 คืนด้วยนะครับ) พอเปิดออกมา เหรียญ 10 บาท ที่หยอดไว้ตั้งแต่แรกจะหล่นลงมา แบบในรูป

เมื่อฝากสัมภาระแล้วกลับไปยังหน้าทางเข้า โดยไม่ต้องเสียค่าเข้าครับ สามารถใช้บริการห้องสมุดได้ฟรี เพียงใช้เพียงบัตรประชาชนสอดเข้าไปที่เครื่อง ส่วนชาวต่างชาติแสดงพาสปอร์ตเพื่อใช้บริการครับ (หันด้านบัตรประชาชนเข้าหาตัวตามรูป รูปธงชาติอยู่ด้านล่าง) สอดและกดเข้าไปครับ หลังจากนั้นรอประตูเปิด แล้วดึงบัตรประชาชนออก

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร แผนที่ ชั้น 1

บริเวณที่เราเข้ามา เป็นพื้นที่ชั้น 1 ชั้น 1 ประกอบด้วยพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนที่จะผลัด เปลี่ยนกันมาให้ความรู้ครอบคลุมทั้งเรื่องศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ และสังคม นอกจากนั้นยังมีห้องคลังนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ส่วนบริการข้อมูลภายใน หอสมุดและข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว ห้องฉายภาพยนตร์และห้องสมุดสำหรับผู้พิการ ประกอบด้วยห้องสมุดเสียง หนังสืออักษรเบรลล์ สื่อภาพและสื่อโสตทัศน์ต่างๆ

นิตยสาร/หนังสือพิมพ์

  • มุมนิตยสาร/หนังสือพิมพ์ฉบับล่าสุด
  • นิตยสารทุกปก ทุกแนว ย้อนหลังไม่เกิน 3 เดือน
  • หนังสือพิมพ์ย้อนหลังไม่เกิน 2 สัปดาห์ รวมถึงนิตยสารแจกฟรี
  • หนังสือส่งเสริมการท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร

ห้องสมุดคนพิการ

  • เน้นที่ผู้พิการทางสายตา เกือบบอด/บอด

ห้องวีดีทัศน์

  • สารคดี(เช่น BBC,NG) / ภาพยนตร์สารคดี เช่น documentary club
  • สารคดีเกี่ยวกับกรุงเทพมหานคร
  • สารคดีที่เชื่อมโยงกับนิทรรศการหมุนเวียนตามวาระต่างๆ

เมื่อเข้ามาด้านหน้าก็จะเป็นโซนอ่านหนังสือ มีบริการโต๊ะ โคมไฟ และปลั๊กไฟไว้ให้บริการครับ ด้านหน้าก็จะเป็นชั้นหนังสือ แบ่งตามหมวดหมู่

ทางขวามือจะเป็นโซนยืมหนังสือ และคอมพิวเตอร์ที่จัดไว้ให้บริการฟรี

มุมให้บริการคอมพิวเตอร์โดยรอบ

ข้างๆจะเป็น จุดตั้งเครื่องบริการยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติ ด้วยตัวเอง

ตัวอย่างหน้าจอ เครื่องบริการยืม-คืนหนังสืออัตโนมัติ ด้วยตัวเอง รองรับทั้งหมด 5 ภาษา (ไทย / อังกฤษ / ฝรั่งเศส / จีน / อาหรับ /ญี่ปุ่น ) การใช้งาน ก็ใช้เพียงบัตรสมาชิก ที่สมัครบริเวณประชาสัมพันธ์เท่านั้นครับ

เดินตรงไปนิดเดียวก็จะเป็นโซนบันได ทางซ้ายมือ และขวามือเป็นลิฟต์ครับ สำหรับลิฟต์รองรับไม่เกิน 13 ท่าน น้ำหนักรวมไม่เกิน 1,000 กิโลครับ

โซนบันไดขึ้นไปบริเวณชั้น 2 แต่เราจะยังไม่ขึ้นไปนะครับ ขอเดินสำรวจบริเวณชั้น 1 ให้ครบก่อน

กลับมาส่วนด้านหน้า ตรงไปนิดหน่อยทางขวามือจะเป็นมุมหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร บริการให้อ่านฟรีครับ

ตรงจากมุมหนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ก็จะเป็นโซนนิทรรศการ เล็กๆ จัดแสดงในส่วนนี้

นิทรรศการภาพ นิทรรศการภาพ บอกเล่าเรื่องราว

บันไดไปสู่ชั้น M

ตรงไปจะเป็นบันไดขึ้นไปสู่ชั้น M (ไม่ใช่ชั้น 2 นะครับ แอดมินไปหลงมาแล้ว 555+)

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร แผนที่ชั้น M

ชั้น M

เป็นชั้นสำหรับเด็ก ซึ่งรวบรวมหนังสือ วรรณกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน รวมไปถึงกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับครอบครัว
โซนสำหรับเด็ก

โซนชั้นลอย (ชั้นM) นี้ก็จะมีมุมนั่งอ่านหนังสือ และของโซนเด็กเล่นครับ

โซฟาอ่านหนังสือ

มุมโซฟาให้นั่งอ่านหนังสือ

หนังสือนิทาน หนังสือภาพ

หนังสือโซนนี้ก็จะเป็นหนังสือสำหรับเด็ก เช่น หนังสือนิทาน หนังสือภาพ และหนังสือความรู้ทั่วไปแบบฉบับการ์ตูนน่ารักๆ

โซนเด็กเล่น

ตรงข้ามจะเป็น โซนเด็กเล่นครับ มีของเล่นอยู่ด้านใน สำหรับชั้นลอยสามารถเชื่อมไปยังชั้น 2 ได้ทางเดียวคือลิฟต์ครับ หรืออีกทางคือจากบริเวณชั้น 1 ใกล้ๆห้องน้ำ ก็จะมีโซนบันได สำหรับขึ้น ไปยังชั้น 2 ได้เช่นกันครับ เดี๋ยวเราขึ้นไปดูบริเวณชั้น 2 กันครับ

แผนที่ชั้น 2 หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

แผนที่ชั้น 2

ชั้น 2 ประกอบด้วย โซนหนังสือต่างประเทศ วรรณกรรมหายาก และหนังสือทั่วไปแล้ว นอกจากนี้ยังมีนิทรรศการ หมุนเวียนเกี่ยวกับการอ่าน อาทิ การจัดแสดงหนังสือหายากของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนการจัดเสวนาต่างๆ

โต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ บริเวณชั้น 2

ขึ้นจากบันไดบริเวณห้องน้ำมาอยู่ในส่วนชั้น 2 ก็จะมีบริการหลายโซนครับ ด้านหน้าก็จะเป็นโต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ โต๊ะหนึ่งสามารถนั่งได้ประมาณ 6-7 คน เหมาะสำหรับทำงานกลุ่ม (มีปลั๊กไฟเป็นจุดๆ ติดตั้งอยู่บริเวณพื้น ต้องดึงขึ้นมา)

โต๊ะสำหรับอ่านหนังสือ บริเวณชั้น 2 อีกรูป

บริเวณนี้ยังโล่งๆอยู่ครับ อนาคตอาจจะมีการเพิ่มที่นั่ง และจำนวนชั้นวางหนังสือในหอสมุด

ห้องค้นคว้า บริเวณชั้น 2

ทางขวามือเป็นห้องค้นคว้าครับ จะมีอยู่หลายห้องพอสมควร สำหรับจองใช้ตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป

โซนนั่งอ่านหนังสือ และทำงาน บริเวณชั้น 2

ทางด้านหลังก็จะเป็น โซนนั่งอ่านหนังสือ และทำงานเช่นกัน

โซนนั่งอ่านหนังสือ และทำงาน บริเวณชั้น 2 เพิ่มเติม

พื้นที่นั่งอ่านหนังสือโดยรอบ

มุมหนังสือ วรรณกรรมโลก

โซนตรงกลาง ชั้น 2 ก็จะมีบริการหนังสือ วรรณกรรมโลก ถัดไปเราขึ้นไปบริเวณชั้น 3 กันบ้างครับ

แผนที่ชั้น 3 หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

บริเวณชั้น 3 ประกอบด้วยจุดสำคัญๆคือ หอจดหมายเหตุกรุงเทพมหานคร, Hall of Fame, มุมหนังสือเกี่ยวกับกรุงเทพฯ และส่วนของโต๊ะนั่งอ่านหนังสือ

บริเวณชั้น 3

บริเวณชั้น 3 รูปแบบการจัดวางจะคล้ายกับ ชั้น 2 โดยส่วนทิศตะวันตก ด้านหลัง จะเป็นโซนอ่านหนังสือและทำงาน

โต๊ะสำหรับนั่งทำงาน 3-4 คน บริเวณชั้น 3

โต๊ะสำหรับนั่งทำงาน 3-4 คน

โซนสิ่งพิมพ์กรุงเทพ ชั้น3

ด้านขวามือก็จะเป็น โซนสิ่งพิมพ์กรุงเทพ

ชั้นวางหนังสือ

หนังสือแยกเป็นหมวดหมู่ ดูได้จากหัวของชั้นหนังสือครับ

โต๊ะอ่านหนังสือ ยาวตลอดแนว

ทางขวามือก็จะเป็นโต๊ะอ่านหนังสือ และโต๊ะทำงานตลอดแนว

โต๊ะทำงานสำหรับ ทำงานเป็นกลุ่ม

ตรงไปนิดหน่อยจะเป็นโซนโต๊ะทำงานที่มีปลั๊กไฟ สำหรับนั่งทำงานและค้นคว้าในบริเวณนี้ได้ครับ มีฉากกั้นตรงกลางเพิ่มความเป็นส่วนตัว

โซนหนังสือ พระบรมราชจักรีวงศ์

ตรงไปอีกนิดจะเป็นโซนหนังสือ พระบรมราชจักรีวงศ์ เช่นกันครับ

ตัวอย่างหนังสือ

ตัวอย่างหนังสือ

แกลเลอรี่รูปภาพ ที่จัดแสดงอยู่

ถัดมาจะเป็นแกลเลอรี่รูปภาพ ที่จัดแสดงอยู่ครับ

แกลเลอรี่รูปภาพ

แกลเลอรี่รูปภาพ ก็จะหมุนเวียนมาจัดแสดงตามวาระสำคัญๆ

มุมหนังสือด้านขวามือ

มุมหนังสือด้านขวามือ

ที่จัดแสดงนิทรรศการ (Hall of Fame)

เดินมาโซนบริเวณตรงกลางจะเป็นโถงขนาดใหญ่ จัดแสดงนิทรรศการ (Hall of Fame)

มุมโต๊ะอ่านหนังสือขนาดใหญ่ให้บริการ

เดินทะลุมาทางขวามือ ก็จะมีมุมโต๊ะอ่านหนังสือขนาดใหญ่ให้บริการ สามารถนั่งทำงานเป็นกลุ่มใหญ่ได้สบายเลยครับ

โซนนิทรรศการ ทางขวามือ

ทางขวามือจะเป็นโซนนิทรรศการ เช่นกัน


เกร็ดความรู้เพิ่มเติม เกี่ยวกับ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library)

สืบเนื่องจากการที่กรุงเทพมหานครได้รับเลือกจากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือองค์การยูเนสโก (UNESCO) ให้เป็นเมืองหนังสือโลกประจำปี ๒๕๕๖ (World Book Capital 2013) ซึ่งโครงการจัดตั้งหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library) เป็นหนึ่งใน ๙ พันธกิจที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ตามแผนงานส่งเสริมการอ่านที่ได้เสนอต่อองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) กรุงเทพมหานครจึงมีนโยบายสำคัญที่จะสร้างกรุงเทพมหานครให้เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้” เพื่อเพิ่มแหล่งการเรียนรู้แห่งใหม่ที่รวบรวมองค์ความรู้อันทรงคุณค่า และแหล่งภูมิปัญญา ด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้ที่ทันสมัยครบวงจร ซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมการอ่านอย่างยั่งยืนในระยะยาวให้กรุงเทพมหานคร เป็น “มหานครแห่งการเรียนรู้” อย่างแท้จริง

โดยกรุงเทพมหานครได้เช่าอาคารของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกคอกวัว หนึ่งในอาคาร ๑๕ หลังที่เรียงรายตลอดสองฟากถนนราชดำเนิน อาคารหลังนี้เป็นอาคาร คสล. (คอนกรีตเสริมเหล็ก) ความสูง ๓ ชั้น พื้นที่ใช้สอยรวม ๔,๘๘๐.๓๘ ตารางเมตร มีความเป็นมาแรกเริ่มภายใต้พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.๕) ให้สร้างถนนราชดำเนิน

ต่อมาระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๒ – พ.ศ.๒๔๙๑ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (ร.๘) ต่อเนื่องถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (ร.๙) ได้ทำการปลูกสร้างกลุ่มอาคารสาธารณะประเภทต่างๆ ประกอบด้วย อาคารพานิชย์ โรงแรมและโรงมหรสพ รูปแบบสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลแนวนีโอ-พลาสติก ซึ่งมีลักษณะเฉพาะบางประการ เช่น มีกันสาดบางๆ คลุมส่วนหน้าต่าง มีขอบปูนปั้น มีการใช้ลูกกรงเป็นเส้นแนวนอน เป็นต้น ด้วยแนวคิดการอนุรักษ์และเคารพในคุณค่าของสถาปัตยกรรมเดิม ส่งผลให้การออกแบบปรับปรุงอาคารหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ยังคงกลิ่นอายอารยธรรมตะวันตกผสมผสานการตกแต่งแบบศิลปะไทย เพื่อคงรูปแบบเดิมไว้ให้มากที่สุด


บทสรุป

หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร

สรุป : เป็นห้องสมุดใหม่ที่น่าใช้บริการอีกที่ ใช้บริการได้ฟรี
วันเวลาเปิดให้บริการ : วันอังคาร-วันเสาร์ 08:00-21:00น / วันอาทิตย์ 09:00-20:00น ปิดทุกวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
บัตรผ่าน : บัตรประชาชนเพียงใบเดียว สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแสดงพาสปอร์ต
การเดินทาง >วิธีการเดินทาง<<
แผนที่การเดินทาง : >>Google Map<<
บริการ เพิ่มเติม : ขอรับรหัส wifi จำนวน 2 ชั่วโมงต่อรหัส ติดต่อประชาสัมพันธ์ได้ทุกชั้น, บริการยืมหนังสือ, บริการจองห้องค้นคว้า

ข้อมูลการสมัครสมาชิก

1. ยื่นใบสมัครสมาชิกที่หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร
2. สำเนาเอกสารประกอบการสมัครอย่างใดอย่างหนึ่ง

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • บัตรประจำตัวข้าราชการ
  • บัตรประจำตัวนักศึกษา
  • หนังสือรับรองจากสถานศึกษา
  • หนังสือเดินทาง (Passport)

3. เงินค่าสมาชิก

  • อายุไม่เกิน 15 ปี ปีละ 5 บาท เงินค่าประกัน 20 บาท / ต่อคน
  • อายุเกิน 15 ปี ปีละ 10 บาท เงินค่าประกันหนังสือ 40 บาท / ต่อคน

ข้อมูลการติดต่อ หอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร (Bangkok City Library)

เว็บไซต์ : www.bangkokcitylibrary.com
Facebook
โทร : 02-282-0680, 02-245-4171 (ตามเวลาทำการ)
E-mail : [email protected]

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก
Bangkokcitylibrary.com
Facebook.com/bangkokcitylibrary

หากบทความนี้มีประโยชน์ แชร์ให้กับเพื่อน หรือคนรู้จักที่กำลังมองหาข้อมูลนี้อยู่
อัพเดทข่าวสาร รีวิวโครงการใหม่ บทความที่น่าสนใจ ผ่านทางช่องทาง

1.Add friend ค้นหาใน LINE : @thelivinginsight (มี@นำหน้า) หรือกดปุ่มด้านล่าง
line thelivinginsight.com
2.แฟนเพจ กดไลท์แฟนเพจ > กดติดตาม (เห็นโพสก่อน / see first) เพื่อไม่พลาดทุกข่าวสาร หรือกดปุ่มด้านล่างนี้ (อย่าลืมตั้งค่า เห็นโพสก่อน / see first ด้วยนะครับ)


มีสมาชิกใหม่ และโพสใหม่ +1,000 ในสัปดาห์นี้ เข้ากลุ่ม